องค์ประกอบ รองเง็ง

องค์ประกอบของการแสดงรองเง็ง
๑. นักแสดง รองเง็งเป็นศิลปะการแสดงหมู่ ประกอบด้วยผู้เต้นทั้งชายและหญิง หรือผู้หญิงล้วนก็ได้ ผู้เต้นต้องเป็นผู้ที่รู้จังหวะเพลง
และลีลาในการเต้น การยืนของผู้เต้นห่างกันพอสมควร
๒. ท่าเต้น เมื่อดนตรีบรรเลงเพลง ผู้เต้นจะเต้นตามจังหวะ ลีลาท่าเต้นจะเคลื่อนไหวทั้งมือ เท้าและลำตัวอย่างนิ่มนวล เพลงรองเง็งทั้งหมด
ในแต่ละเพลงไม่ปะปนกัน ผู้แสดงต้องจำท่าทาง ลีลาการเต้นและเพลงที่เต้น ว่าเพลงไหนใช้ท่าอย่างไร
จุดเด่นของการเต้น เมื่อมีการเปลี่ยนท่าเต้น ลีลาท่าเต้นก็จะเปลี่ยนไปตามจังหวะของเพลง
๓. การแต่งกาย ผู้เต้นจะแต่งกายแบบพื้นเมืองของพังงา
๔. การแสดง สำหรับการแสดงนั้น นิยมเล่นในโอกาสรื่นเริงต่างๆ เช่น งานเลี้ยงฉลอง งานพิธีเปิดต่างๆ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของ
เวลาสำหรับการแสดง ถ้าใช้เวลายาวนานเกินไปผู้ชมจะเกิดความเบื่อหน่ายมากกว่าความสุข ดังนั้นการแสดงรองเง็งเจ้าภาพที่จัดงานมักจะกำหนดเวลาให้สำหรับผู้แสดง
๕. เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการเต้น การแสดงรองเง็งได้แก่ ไวโอลิน กลองรำมะนาและฆ้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ที่มาของรูปภาพ : รองเง็งศิลปะการเต้นรำประกอบดนตรีพื้นเมืองใต้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

:  http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/Rongngeng/rongngeng.html. (23 มีานคม 2559).

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/chabatani/2012/01/17/entry-1. (23 มีานคม 2559).

ที่มาของเนื้อหา : รองเง็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/331-----m-s. (23 มีานคม 2559).